เชื้อเอสไพโลไร เป็นเชื้อปบคทีเรียร้ายที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบของ กระเพาะอาหาร และลำไส้ ถ้าเราได้รับเชื้อตัวนี้ในระยะยาว จะทำให้เกิดกระเพาะอักเสบและเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
ปกติใน กระเพาะอาหาร มีการสร้างกรดเพื่อทำลายอาหารที่ปนเปื้อน แบคทีเรียส่วนใหญ่เมื่อลงสู่กระเพาะถ้าเชื้อไม่รุนแรงมาก จะถูกกรดทำลายไปส่วนหนึ่ง รวมถึงแบคทีเรียบางชนิดไม่สามารถอยู่ในกระเพาะอาหารได้ แต่เชื้อเอชไพโลไร มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถเกาะกี่ยวตัวเองไว้กับเยื่อบุผิวกระเพาะ รวมถึงสามารถผลิตด่างขึ้นป้องกันตัวเอง แทรกอยู่ระหว่างช่องเซลล์ของผิวบุกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะผู้ติดเชื้อนานนับ 10 ปี โดยอาจไม่มีอาการใดๆ
ทั้งนี้หากมีการติดแบบเฉียบพลัน หรือในปริมาณเชื้อมากๆ จะมีอาการเหมือน กระเพาะอาหารอักเสบโดยมีใข้ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไป เนื่องจากกลไกร่างกายพยายามทำให้การอักเสบเบาลงแต่เชื้อยังไม่ตายและที่ผู้รับเชื้อในปริมาณน้อยอาจไม่มีอาการใดๆ เลย และเชื้อก็จะฝังตัวอยู่ในกระเพาะอาหารไปเรื่อยๆ โดยสร้างความเป็นด่างในกระเพาะเพิ่มขึ้นจนผู้ป่วยเกิดการอักเสบเรื้อรังที่ผิวกระเพาะอาหาร โดยมีอาการหรือไม่มีก็ได้
โดยเชื้อโรคนี้ติดโดยการกิน ซึ่งการกินเชื้อโรคก็มีหลายอย่าง ตั้งแต่อาหารปนเปื้อน และการติดจากเนื้อเยื่อคัดหลั่งสารที่ปนเปื้อนแล้วกินเข้าไป ตอบไม่ได้ว่าอาหารเหล่านี้ติดมากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญก็คือ ถ้ามีอาการปวดอุจจาระ แน่นท้อง ก็อาจจะมาจากสาเหตุตัวนี้ก็ได้ ซึ่งการติดเชื้อนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่มักพบในเด็กและจะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากอาศัยอยู่กับผู้ที่มีเชื้อ H.Pylori หรืออาศัยอยู่ในแออัดและสุขอนามัยไม่ดี
เมื่อเชื้อเอชไพโลไร เข้าสู่ร่างกายและจะเข้าไปทำลายเยื่อบุ กระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น
การติดเชื้อโรคเอซไพโลไรใหม่ๆ อาจจะทำให้กระเพาะอาหารอักเสบและปวดท้องธรรมดา แต่ถ้าติดไปนานๆ จะทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งมะเร็งกระเพาะอาหารมีลักษณะหลายรูปแบบ ตั้งแต่มะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหาร พวกนี้ถ้าเกิดการอักเสบ จะทำให้ตัวน้ำเหลืองหรือเม็ดเลือดขาวขยายตัวมากขึ้น ก็จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดไม่รุนแรงของกระเพาะอาหาร ซึ่งรักษาโดยกำจัดเชื้อเอสไพโลไร
อาการของการติดเชื้อ H.Pylori
- ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องส่วนบนบริเวณเหนือสะดือและจะยิ่งปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังจากรับประทานอาหาร
- คลื่นไส้
- ท้องอืด เรอบ่อย
- ไม่อยากอาหาร
- น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีปัญหาในการกลืน
- ปวดท้องรุนแรงเรื้อรัง
- อาเจียนเป็นเลือดหรืออาเจียนมีสีน้ำตาลคล้ำ
- อุจจาระเป็นเลือด ลักษณะของอุจจาระเป็นสีดำคล้ายมีกลิ่นรุนแรง
การป้องกันเชื้อโรค H.Pylori ได้อย่างไร
- ล้างมือก่อนทานอาหาร และเมื่อเสร็จห้องน้ำให้ล้างมือทุกครั้ง
- ไม่ทานอาหารดิบ ปรุงอาหารสุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารไม่สะอาด
- ไม่ทานอาหารรสจัด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน และเลิกบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เก็บไว้นานๆ อย่างเช่น อาหารแช่แข็งกินไม่หมดเอาไปแช่ไว้แล้วเอากลับมากินใหม่ ถ้ามันนานเกินไปหรือเก็บในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม อันนี้ต้องระวัง
- ไม่เครียด เพราะความเครียดจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการอักเสบในร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หากมีอาการปวดหรืออักเสบ เพราะยาดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหาร
การติดเชื้อ H.Pylori สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และทานและสังเกตอาการที่น่าสงสัย เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรงเรื้อรัง ทานยาลดกรด แล้วก็ไม่ดีขึ้น ท้องอืด อาเจียน เรอบ่อย มีปัญหาการกลืน น้ำหนักลด อุจจาระเป็นสีดำ เป็นสัญญาณเตือนให้เราไปพบแพทย์รีบทำการรักษาโดยเร็ว ก่อนที่อาการจะพัฒนาและเกิดการกลายพันธุ๋ของเนื้อเยื่อ กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารในที่สุด จะเห็นได้ว่าการติดเชื้อ H.Pylori เป็นได้ง่ายและพบได้ทั่วไป แต่รักษาหายได้ยาก ควรใส่ใจการทานให้ถุกสุขลักษณะ จะได้ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ผู้ที่มีควรตรวจเช็คเชื้อ H.Pylori ในกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ เหนือสะดือหรือยอดอก เป็นๆหายๆ ปวดแสบท้อง จุกเสียด บีบเกร็ง แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ มีลมมาก หรือไม่ตอบสนองต่อยาต้านการลดกรด
- ผู้ที่กำลังป่วยหรือ เคยเป็นแผลเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น
- ผู้ที่มีรอยถลอกในกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่ต้องใช้กลุ่มยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ หรือยาแอสไพรินในระยะยาว หรือปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างต่อการตกเลือดในทางเดินอาหารส่วนบน หรือเป็นแผลเป็นมาก่อน
- ผู้ที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หลังรักษามะเร็งแล้วจะช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งซ้ำได้อย่างน้อยร้อยละ 58 ของผู้ป่วย
- ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกระเพาะอาหาร
โรคและภาวะที่แทรกซ้อนที่เกิดขึ้น กับกระเพาะอาหาร
- กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
- กระเพาะอาหารเป็นแผล
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกระเพาะอาหาร
โรคและภาวะที่แทรกซ้อนที่เกิดขึ้น กับอวัยวะอื่นๆของร่างกาย
- โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- โรคเกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่ายผิดปกติตามอวัยวะต่างๆ
- โรคขาดวิตามินบี 12
ภาวะการติเชื้อ H.Pylori ในกระเพาะอาหารเป็นปัญหาสำคัญในประชากรไทยทำให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อร่างกาย และควรรักษาให้หายและตรวจเช็คซ้ำเพื่อยืนยันว่าเชื้อไม่พบแล้ว เพื่อไม่เสี่ยงต่อการลามไปสู่มะเร็งกระเพาะอาหาร ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพที่ดีของเราไม่มารบกวนการดำเนินชีวิตที่มารบกวนใจเราอีกต่อไป
ขอบคุณแหล่งข้อมูล

โรคกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะความเหมือนที่ต่างกันอย่างไร