กรดไหลย้อน กับโรคกระเพาะต่างกันอย่างไร
2 โรคฮิตอของคนเมืองที่มีความแตกต่าง ทั้งโรคกระเพาะ และ กรดไหลย้อน เป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้ส่วนต้น อาการของ 2 โรคนี้จะมีความเหมือนแต่ก็มีความต่าง ตรงที่มีอาการปวด จุก เสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย มีลมในกระเพาะอาหารเยอะ ปวดแสบร้อนตรงบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งทั้ง 2 โรคมีความต่างที่อาการและตำแหน่งของการออกอาการ ที่ทำให้ส่วนใหญ่สับสนและเข้าใจผิดไม่น้อย ด้วยอาการที่คล้างคลึงกันและตำแหน่งของอาการที่ใกล้เคียงกัน ก็ทำให้บ่อยครั้งคิดว่าเป็นโรคเดียวกัน เรามาเช็คกันว่าสองโรคนี้มีอาการแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
โรคกระเพาะอาหาร (Stomach diseases)
คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารแล้วไม่ได้รับการดูแลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิต โรคกระเพาะอาหาร จะมีอาการแสบท้อง ท้องอืด ปวดเสียด หายใจไม่สะดวก จุกและแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ปวดใต้ชายโครงซ้ายและมักเป็นๆ หายๆ โดยเกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร ซึ่งอาการจะเด่นชัดขึ้นทั้งเวลาก่อนและหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ หรือเวลาท้องว่างในตอนเช้าหรือก่อนนอน
ซึ่งอาการปวดเกิดจากภาวะกรดในกระเพาะอาหารสูง กรดนี้จะทำให้เกิดระคายเคืองกัดผนังกระเพาะจนทำให้เกิดแผล โดยอาการปวด จุกเสียดแน่นนี้จะเป็นๆ หายๆ ครั้งละ 15-30 นาที วันละหลายครั้งตามเวลาของมื้ออาหาร และจะทุเลาลงเมื่อทานอาหารและน้ำเข้าไป
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารมาจาก 4 สาเหตุ
- เกิดจากความบกพร่องทางร่างกายที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด อาจมีเนื้อเยื่อบุกระเพาะที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถทนกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาได้ นานๆเข้าก็จะทำให้เกิดแผลและเป็นโรคกระเพาะอาหาร
- การหลั่งกรดกระเพาะมากเกินปกติ ซึ่งเกิดจากภาวะทางอารมณ์เช่น การทำงานหนักบนแรงกดดันสูง มีภาวะความเครียด วิตกกังวล หงุดหงิด นอนไม่หลับและพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาด กินเร็ว รีบเร่ง ทานอาหารไม่เป็นเวลา อดหรือข้ามมื้ออาหาร ดื่มชา กาแฟมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือทานยาบางตัวที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น จำพวกแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูก ยาที่มีส่วนผสมของสตีรอยด์
- การติดเชื้อแบคทีเรียชนิด “เฮลิโคเบคเตอร์ไพโลไร” (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นเหตุทำให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดอาการอักเสบ มีความทนทานต่อกรดและน้ำย่อยน้อยลง ทำให้แผลหายช้า และเป็นเชื้อที่ทำให้เสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น2-6เท่า
โรคกรดไหลย้อน (Gerd)
สำหรับผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน “Gerd” เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่มีน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด (ประกอบด้วย กรดเกลือ หรือกรดไฮโดรคลอลิก) ล้นไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง บริเวณลำคอ แสบร้อนบริเวณทรวงอก และจุดเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาการที่คล้ายกันทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะ ซึ่งจริงแล้วไม่ใช่
โรคกรดไหลย้อน เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร หย่อนสมรรถภาพ โดยปกติแล้วเมื่อาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร หูรูดตัวนี้จะทำงานหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้หูรูดจะหย่อน ทำให้มีช่องว่างพอให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปหลอดอาหารมากกว่าปกติ เกิดความระคายเคืองขึ้นในหลอดอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอากรอักเสบที่เยื่อบุหลอดอาหารได้
อาการที่เด่นชัดของโรคกรดไหลย้อนคือ มีอาการแสบจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือยอดอก หลังรับประทานอาหาร 30-60 นาที แน่นหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย เช่น เรอเปรี้ยว ขมคอ หายใจมีกลิ่น เสียงแหบ เจ็บคอ แสบลิ้น หรือไอ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ แต่จะเป็นมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และแต่ละครั้งจะกินเวลาประมาน 1-2 ชม.
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
- เกิดจากอาการเสื่อมสมรรถภาพของหูรูดหลอดอาหาร สาเหตุอาจมาจากความเสื่อมถอยตามอายุ เพราะผู้ที่มีอายุกว่า 40 ปีมักพบว่าป่วยเป็นโรคนี้ หรือ เกิดจากการที่หูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ซึ่งจะพบมากในทารก หรือเป็นความผิดปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด และ ยังพบว่าโรคกรดไหลย้อนอาจเป็นผลจากโรคอื่นๆได้ด้วย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไส้เลื่อนดันกระบังลม และภาวะการตั้งครรภ์
- พฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดโรค เช่น ทานมากเกินไป ทานอาหารปริมาณมากๆ ในมื้อเดียวทำให้น้ำย่อยที่หลั่งออกมามีปริมาณมาก กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น ทำให้หูรูดคลายตัว นิสัยกินแล้วนอน กินแล้วนั่งงอตัว หรือโค้งตัวต่ำลง โดยเฉพาะหลังจากทานอาหารใน 2 ชม. แม้แต่การใส่กางเกงหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไปก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดได้
- จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงอย่างชาและกาแฟ กระตุ้นการเกิดโรคกระเพาะอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะหูรูดคลายตัวเป็นสาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ของทอด มันๆ นมไขมันสูง เนย ชีส จะทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้มากขึ้น
- การสูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนต การรับประทานอาหารรสจัด เผ็ด เปรี้ยว บ่อยๆ ปริมาณมากๆ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ ทำให้หูรูดคลายตัวและมีกรดในกระเพาะอาหารสูง
แนวทางการรักษาโรคกระเพาะ และ กรดไหลย้อน
แนวทางการบรรเทาอาการของทั้ง 2 โรคนี้ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการกระตุ้นอาการของโรค พฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบผิดๆ การอาหารมันๆ อาหารรสชาติจัดจ้านมากเกินไป ลดเลิกการดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ทานอาหารในปริมาณที่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป ทานอาหารให้ตรงต่อเวลา ไม่ทานอาหารแล้วนอน
รักษาแบบธรรมชาติไม่พึ่งยาเคมี การรักษาด้วยสมุนไพร การรักษาด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน “ขมิ้นชัน” เป็นอีกทางเลือกนึงที่ได้รับความนิยม ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้ ช่วยขับลม ลดกรด ลดการอักเสบ รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยกระตุ้นการหลั่งมิวซิน ทำหน้าที่เคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้ ยับยั้งการหลั่งน้ำย่อย ช่วยสมานแผล ต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ช่วยบำรุงตับ ไตอีกด้วย
ทั้งนี้ หากถามว่าโรคกรดไหลย้อนอันตรายไหม คำตอบคือ ถ้าเป็นกรดไหลย้อนแล้วรีบรักษา หรือทำให้อาการกรดไหลย้อนหายไปก็จะไม่มีอาการแต่อย่างไร แต่หากปล่อยอาการกรดไหลย้อนไว้เนิ่นนาน อาจทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ เป็นแผลรุนแรงจนลุกลาม หรือเป็นมะเร็งที่หลอดอาหารได้ แต่… ความรุนแรงนี้จะมีได้น้อยเพียง 1% เท่านั้น
ใครคือกลุ่มเสี่ยง
โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคยอดฮิตของหนุ่มสาววัยทำงาน ดารานักแสดง โดยเฉพาะสาวออฟฟิศ ที่ชอบกินจุบกินจิบ กินอาหารไม่เป็นเวลาและเร่งรีบ รวมถึงผู้ชอบอาหารรสจัด ชอบทานบุฟเฟต์ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ รับประทานอาหารแล้วนอนทันที มีโอกาสเสี่ยงสูง หากมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว ปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ ควรปรึกษาแพทย์
นอกจากนี้ยังสามารถพบกรดไหลย้อนได้ในเด็กทารกจนถึงเด็กโต ในเด็กเล็กอาการที่ควรนึกถึงโรค กรดไหลย้อน ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับได้
โรคกรดไหลย้อน สามารถรักษาให้หายได้ โดยการรับประทานยากลุ่มยาลดกรด หรือสมุนไพร ซึ่งปัจจุบันได้มีการยอมรับในการรักษาของแพทย์ทางเลือก ไม่ต้องทานยาเคมีเสี่ยงทำลายตับ และไต สมุนไพรปัจจุบันได้มีงานวิจัยรองรับและผ่าน อย. ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่าสามารถรักษา หรือแก้ปัญหาของอาการเจ็บป่วยได้
กรดไหลย้อน ควรกินอะไรดี
- ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมารับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ อย่างปลา ไก่ และอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ เช่น ธัญพืช
- อย่างรับประทานอาหารมากเกินไปควรรับประทานอาหารแค่พออิ่ม หรืออาจแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ กินน้อย แต่บ่อยได้
- ควรกินอาหารให้ตรงเวลา เคี้ยวช้าๆให้ละเอียด และไม่ควรงดอาหารมื้อเช้า ควรทานอาหารมื้อเช้าก่อน 9 โมง
มีคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงขวา เพราะท่านี้จะทำให้กระเพาะอยู่เหนือหลอดอาหารอาจทำให้อาการกำเริบได้ ท่านอนที่ดีที่สุดคือ นอนยกหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยอาจนอนบนหมอน 2 ใบ เพื่อไม่ให้กรดไหลเอ่อขึ้นมาที่คอ หรือนอนตะแคงด้านซ้าย รวมถึงไม่ควรทานอาหารมากเกินไป และทิ้งเวลาห่างอย่างน้อย 2- 3 ชั่วโมง และหลีเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน เช่น อาหารรสจัด อาหารมัน ชา กาแฟ น้ำอัดลม เป็นต้น
ชุดฟื้นฟูเร่งด่วน
ชุดยอดนิยม ยอดขายอันดับ1 เห็นผลลัพธ์ชัดเจน แบบแคปซูล แก้ปัญหาเรื้อรังเป็นมานาน 1 กล่อง บรรจุ 30 แคปซูล ทานครั้งละ1-2เม็ด ก่อนอาหาร ญแบบน้ำ แก้ปัญหาผู้มีอาการปวดฉุกเฉิน ลดปวดแบบเฉียบพลัน 1 กล่องบรรจุ 6 ขวดทานครั้งละ 1 ขวด
ชุดฟื้นฟูลำไส้และทางเดินอาหาร
ผู้มีปัญหาการขับถ่าย ท้องผูกเรื้อรัง ช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ ประกอบด้วย พรีไบโอติก และไฟเบอร์ ดีท็อกซ์กำจัดพิษออกจากร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อย และมีจุลินทรียด์ที่ดีต่อลำไส้ช่วยลดแก๊ส ท้องอืด แน่นท้อง ลำไส้แปรปรวน
กรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร บางทีหาสาเหตุไม่ได้ว่า ทำไมไม่หายสักที
บางทีอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารทำให้เกิดอักเสบ ถ้าทิ้งไว้อาจนำไปสู่มะเร็งกระเพาะอาหารได้ กดดูข้อมูลเพิ่มเติมต่อได้ที่นี่เลย
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม กรีนเพอร่า พลัส 4 สมุนไพรแก้อาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง อารมณ์แปรปรวน ฮอร์โมนทดแทนเพศหญิง คืนความสาวกลับมาอีกครั้ง
เรียบเรียงโดย : herbd4health