ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุไขมันอุดตันเส้นเลือด และเข้าใจว่าเกิดจากไขมันคอเลสเตอรอลสูงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงไขมันไตรกลีเซอไรด์ ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มไขมันอุดตันหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทยก็ว่าได้ เรามาทำความรู้จัก และป้องกันก่อนสายเกินแก้
ไขมันในเลือด ประกอบด้วย
โคเลสเตอรอล (CHOLESTEROL) เป็นไขมันชนิดหนึ่ง ร่างกายได้รับจากสารอาหารที่เรารับประทานและจากการสังเคราะห์ขึ้นของตับและลำไส้ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ ไข่แดง หอยนางรม สมอง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์ ถ้า คอเลสเตอรอลในเลือดสูง จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และตีบตัน
ไตรกลีเซอไรด์ (TRIGLYCERIDE) เป็นไขมันชนิดหนึ่ง เกิดจากอาหารที่เรารับประทาน และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย อาหารที่มีไตรกลีเซอไรด์ ได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ชนิดต่างๆ ไขมันไตรกลีเซอไรด์มีประโยชน์ให้พลังงานช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี เค ทำให้อาหารนุ่ม ราติดี ผู้มีไตรกลีเซอไรด์สูงมากๆ จะำให้ตับอ่อนอักเสบ และมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
HDL (HIGH DENSITY LIPOPROTEIN) คอเลสเตอรอลตัวดี เป็นไขมันความหนาแน่นสูงมีหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลออกไปทำลายตับดังนั้นการมีไขมัน HDL สูงจะทำให้โอกาสเป็นโรคหลอดเลือดลดลง ซึ่งการทำให้ HDL สูงนั้น ต้องออกกำลังกายและจากการทานยาลดไขมันบางชนิด
LDL (LOW DENSITY LIPOPROTEIN) เป็นไขมันตัวร้าย ที่มาจากไขมันสัตว์ เป็นตัวการให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด LDL ควรต่ำ ยิ่งต่ำยิ่งดี
เราจะทราบได้อย่างไรว่า ไขมันในเลือดสูง
ไขมันในเลือดมีปริมาณที่ผิดปกติ โดยการเจาะเลือดตรวจ โดยก่อนเจาะเลือดถ้าหากตรวจหาค่า ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชั่วโมง แต่ดื่มน้ำเปล่าได้แพทย์จะตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดร่วมด้วยกับตรวจหาระดับของไขมันอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ HDL-C, LDL-C, TG
คอเลสเตอรอล (CHOLESTEROL) | ควรน้อยกว่า 200 มก./ดล. |
ไตรกลีเซอไรด์ (TRIGLYCERIDE) | ควรน้อยกว่า 200 มก./ดล. |
HDL | ควรมากกว่า 35 มก/ดล. |
LDL | ควรน้อยกว่า 100 มก./ดล. |
กลุ่มเสี่ยง ไขมันในเลือด
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40ปีขึ้นไป หรือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ที่มีวิธีชีวิตแบบคนเมือง
- ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรหรือ ก่อนอายุ 40ปี
- มีหลักฐานหรือสงสัยว่าโรคหลอดเลือดตีบ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะใดก็ตาม
- มีความเสี่ยงอื่นต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น สูบบุหรี่ โรคความดันเลือดสูง และโรคเบาหวาน
- ประวัติพ่อแม่พี่น้อง เป็นโรคหลอดเลือดตีบโดยญาติเพศชายเป็นก่อนอายุ55ปี และญาติเพศหญิงก่อนอายุ 65 ปี
- ผู้ป่วยอ้วนลงพุง BMI มากกว่า 30
- เป็นโรคเรื้อรังบางชนิดที่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคSLE Psoriasis
- ผู้ที่ไตเสื่อม อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60
- คนในครอบครัวมีประวัติไขมันสูง
สาเหตุไขมันในเลือดสูง
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด เนื้อติดมัน
- การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานเกินความต้องการของร่างกายเพราะร่างกามีกลไกในการสะสมพลังงานที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในรูปของไขมัน
- การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ ทำให้มีการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อมากขึ้นลดการกำจัดไขมันในเลือด เนื่องแอลกอฮอลเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง
- โรคบางชนิด เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคตับ โรคเบาหวาน
- ขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายใช้พลังงานน้อย
- กรรมพันธ์ุ ผู้ที่มีประวัติพ่อแม่หรือญาติมีไขมันในเลือดสูง
- อาหารที่มีไขมันสูง
ไขมันในเลือดสูงจะมีความหนืดสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดการสะสมของไขมันตามผนังหลอดเลือดได้ง่าย ทำให้หลอดเลือดตีบและแคบลง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่สะดวก เมื่อนานวันอาจเกิดการอุดตันของเลือด โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ เช่น หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวายและเสียชีวิตเฉียบพลัน ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่สมองทำให้เป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต หากไม่หาทางป้องกันแก้ไขภาวะไขมันในเลือดสูงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ และทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
วิธีป้องกันไขมันในเลือดสูง
ในวงการแพทย์ส่วนใหญ่จะประเมินค่าดัชนีมวลกายเป็นหลัก BMI (Body Mass Index) เพื่อประเมินภาวะอ้วนและผอม ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป วิธีการคำนวณคือ BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร)
ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 | น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน |
ค่าตั้งแต่ 18.5 – 22.9 | น้ำหนักปกติ |
ค่าตั้งแต่ 23.0 – 24.9 | อ้วน |
ค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 30 | อ้วนมาก |
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- การออกกำลังกานแบคาร์ดิโอที่เน้นการเผาผลาญไขมัน สัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20-30 นาที ส่วนผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัย และผลดีต่อสุขภาพ
- ควบคุมอาหาร ลดอาหารมัน เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน, ของทอด
- ลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม คุกกี้ ขนมไทย
- จำกัดการทานแป้ง เช่น จากการทานข้าวขาว และเส้นก๋วยเตี๋ยวธรรมดา เปลี่ยนเป็นเข้าวกล้องหรือเส้นที่ทำจากพีช (เส้นก๋วยเตี๋ยวออแกนิค) ส่วนขนมปังทาน 2-3 แผ่นต่อมื้อ
- ทานปลาทะเล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเนื่องจากในไขมันปลามีกรดไขมัน OMEGA-3 ที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายดึงไขมันไตรกลีเซอไรด์ไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงได้
- งดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไขมันอุดตันหลอดเลือดเพิ่มขึ้น เพราะบุหรี่มีสารนิโคตินและคาร์บอน ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนน้อยลง อีกทั้งยังเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว
- ลดความเครียด เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ไขมันหลอดเลือดอุดตัน เพราะเมื่อมีความเครียดจะทำให้หลอดเลือดหดและตีบตัน อีกทั้งฮอร์โมนบางชนิดยังกระตุ้นไขมันที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆ ให้หลุดออกมา และเข้ากระแสเลือด ส่งผลให้มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดอุดตันเพิ่มขึ้นอีก
- พบแพทย์เพื่อตรวจเช็คระดับ ไขมันในเลือด อย่างสม่ำเสมอ
สารที่ช่วยลด ไขมันในเลือดสูง
สารสกัดแกมมา ออริซานอล จากจมูกข้าว เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อปกป้องเมล็ดพืชเอง และสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า วิตามิน อี ถึง 6 เท่าในภาวะที่อยู่ในน้ำ คุณสมบัติหลายประการของสารแกมมา ออริซานอล
- เป็นตัวแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) คือสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมของสภาพของเซลล์ในร่างกายอันทำให้เกิดการแก่ก่อนวัย (Anti-aging) ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง
- มีความสามารถในการป้องกันการเซลล์ผิวจากการถูกทำลายด้วยแสงแดด
- ลดระดับของ ไขมันในเลือด ลดอัตระเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอุดตัน
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ลดระดับของไขมันอันตราย LDL
- เพิ่มระดับของไขมันที่ดี HDL
- กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโต โกร์ทฮอร์โมน
- เพิ่มการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ช่วยผ่อนคลายความเครียดและหลับสบาย
- ลดการเกิดภาวะวัยทอง ลดอาการร้อนวูบวาบ
- ลดการสูญเสียแคลเซียม ทำให้ลดอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุน
สารสำคัญจากจมูกข้าว สารสกัดจาก แกมมา ออริซานอล ช่วยปรับสมดุลของเลือด (Blood Circulation) ในร่างกายมีระบบการไหลเวียนของเลือด และระบบควบคุมน้ำตาลในเลือดดีขึ้นจากการวิจัย และพัฒนาพบว่า Gamma Oryzanol ปริมาณเข้มข้นบริเวณจมูกข้าว ต่างจากบริเวณรอบๆ เมล็ดข้าว หรือรำข้าว ด้วยนวัตกรรมใหม่จากทีมนักวิจัยที่สกัดสาร แกมมา ออริซานอลเฉพาะบริเวณจมูกข้าวเท่านั้น คัดสรรแต่สารอาหารที่มีคุณค่าไร้ส่วนผสมจากน้ำมัน Olisa Q10 มีค่า แกมมา ออริซานอล (Gamma Oryzanol) สูงถึง 100 mg. โดยร่างกายต้องการสาร แกมมา ออริซานอล วันละ 300 mg. ซึ่งใน 1 แคปซูลใน Olisa Q10 มีสารแกมมา ออริซานอล 100 mg. ดังนั้นควรบริโภค 2-3 แคปซูลก็เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพ ซึ่งเกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างมาก ช่วยกำจัดไตรกลีเซอไรด์ตัวร้าย และเพิ่มความสมดุลของระดับของไขมันที่ดี HDL-C เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและองค์รวมทุกระบบให้แข็งแรง ห่างไกลโรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบแตกตัน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โอลิซา คิวเท็น ดูแลหลอดเลือด หัวใจ สมอง
ช่วยลดไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ปรับสมดุลไขมันดีและไขมันเลว และช่วยในการนอนหลับดี คลายเครียด
ขอบคุณข้อมูล เรียบเรียงโดย herbd4health